ต้องมี-

1. คอมพิวเตอร์ที่มีเครื่องอ่าน DVD เนื่องจากไดรเวอร์ของ Eee มาในรูปแบบ DVD ครับ
โดยคอมพิวเตอร์ที่ว่าต้องมี Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการ พร้อมโปรแกรม WinRAR
หรือโปรแกรมที่อ่านไฟล์ .ISO ได้
แต่ถ้าใช้ Windows 98 ก็สามารถทำได้ แต่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบางขั้นตอนครับ

2. แผ่นติดตั้ง Windows XP ควรเป็นรุ่นที่ผนวก Service Pack 2 มาเรียบร้อยแล้ว
ไม่ควรใช้แผ่น custom ของค่ายใดๆ เพราะอาจจะมีปัญหากวนใจเล็กๆ น้อยๆ ตามมาบ้างครับ
(แต่ผมได้ทดลองกับรุ่น Dark Edition ก็ใช้งานได้นะครับ
มี error message ออกมาตอนติดตั้งนิดหน่อย แต่ก็ข้ามๆ ไปได้ ไม่มีปัญหาอะไร)
อย่าลืมเอา serial number ไว้ใกล้ๆ มือด้วยนะครับ
ส่วนเรื่องลิขสิทธิ์ ผมเข้าใจว่าเราต้องซื้อใหม่เพื่อใช้กับ Eee โดยเฉพาะครับ

3. แผ่นไดรเวอร์ของ Eee PC

4. Flash Disk สามารถใช้ SD Card, MMC, Memory Stick, XD หรืออะไรก็ได้ที่คุณมีตัวอ่าน
สำหรับ SD/MMC สามารถใช้ตัว Reader ที่มากับเครื่อง Eee PC ได้เลย
หรือจะใช้ Flash Drive ก็ไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด ขนาดตั้งแต่ 1 GB ขึ้นไป
เพราะต้องใส่ตัวติดตั้ง XP ทั้งหมด รวมถึง Driver ด้วย
จะเป็นความเร็วปกติ หรือความเร็วสูงก็ได้ แน่นอนว่าแบบความเร็วสูง จะทำให้เราทำงานเสร็จเร็วขึ้น
สำหรับประเภทของ Flash Drive ที่ใช้ได้ ผมก็ยังไม่เห็นว่าอันไหนที่ใช้ไม่ได้
ลองทดสอบทั้ง SD Card, เครื่องเล่น MP3, MicroSD Reader รวมทั้ง Card Reader แบบหลายๆ ช่อง
มันสามารถบูตได้ทั้งหมดครับ
หากต้องการความสะดวกมากขึ้น แนะนำให้ใช้ Flash ขนาด 2 GB ครับ
นอกจากจะสามารถใส่ตัวติดตั้ง Windows XP ได้แล้ว
ยังสามารถใส่ตัวติดตั้งโปรแกรมตามความต้องการได้ในคราวเดียว
นอกจากนั้นการนำ linux มาใส่เครื่องใหม่ จำเป็นต้องใช้ Flash ขนาด 2 GB ขึ้นไปครับ

5. โปรแกรมเสริม เพื่อความสะดวกในการทำงาน

ตรงนี้ให้สร้างโฟลเดอร์ชื่อ BootDisk เอาไว้เก็บไฟล์ที่แยกแล้วครับ

1. ไฟล์ระบบ DOS ของ windows 98 เพื่อใช้บูต และฟอร์แมทฮาร์ดดิสก์ในตอนแรก – ขนาด 2.62 MB
http://www.allbootdisks.com/downloads/ISO/AllBootDisks_ISO_Image_Downloads25/Win98_bootdisk.iso
อันนี้ให้เปิดด้วย WinRar เพื่อเอาไฟล์
io.sys
msdos.sys
command.com
himem.sys
และ Format.com จะอยู่ในไฟล์ ebd.cab อีกทีหนึ่งครับ
ใส่รวมกันไว้ได้เลย

2. eXtend Fdisk – ขนาด 40 KB
http://www.mecronome.de/xfdisk/files/xfd093en.zip
ตัวนี้จะช่วยแบ่งพาร์ติชั่น รวมถึงลบ linux ออกจากเครื่องของเราด้วย
จริงๆ แล้วจะใช้ Fdisk ที่มากับ DOS ในไฟล์ที่โหลดมาอันแรกก็ได้ครับ ตามสะดวก
เอาไฟล์ xfdisk.exe และ xfdisk.ini ไปใส่รวมไว้ในโฟลเดอร์ BootDisk

3. Smartdrv.exe – ขนาด 44 KB
http://www.vetusware.com/output/smqsqzkk/SMARTDRV.EXE
ตัวนี้จะช่วยสร้าง Cache ให้ฮาร์ดดิสก์ระหว่างการติดตั้ง
ทำให้คัดลอกไฟล์ได้เร็วขึ้น ไม่งั้นมันจะช้ามากๆ
** ไฟล์ตัวนี้เป็นของ Microsoft แต่ไม่มีมาในแผ่นติดตั้ง Windows XP (แป่วววว)
ทั้งๆ ที่ในเว็บของ Microsoft เองก็บอกว่า
การติดตั้ง Windows XP ผ่าน Dos Prompt ควรจะใช้มันด้วย
เลยต้องไปหาโหลดมาจากจุดอื่นแทน
(หรือว่า Microsoft อาจคิดว่า ถ้าคุณใช้ Dos Prompt ได้ ก็คงหา Smartdrv เองได้ล่ะมั้ง – -“)

4. HP USB Disk Storage Format Tool – ขนาด 1.97 MB
http://learners.in.th/file/home_alone_boyz/HP+USB+Disk+Storage+Format+Tool.exe
อันนี้เราจะใช้ฟอร์แมท Flash รวมทั้งใส่ไฟล์ระบบที่โหลดมาในข้อ 1. ด้วยครับ

ออเดิร์ฟ-

มาลองทำแผ่นบูตกันก่อนครับ แน่นอนว่าต้องทำที่คอมพิวเตอร์ที่มี Windows XP
ให้ติดตั้ง HP USB Disk Storage Format Tool ให้เรียบร้อย
เสียบ FlashDisk/Drive รอไว้ให้พร้อมเลยนะครับ
แล้วก็ดับเบิลคลิกโปรแกรมให้ทำงาน
เลือกไดร์ฟให้ถูกตัวนะครับในกรณีที่คุณมี FlashDisk/Drive หลายอันต่ออยู่พร้อมๆ กัน
File System ให้เลือกเป็น FAT32 (หรือ FAT ก็ได้ครับ)
ถ้าอยากให้เร็ว เลือก Quick Format
ทำเครื่องหมายที่ Create a DOS startup disk
และ using DOS system files locate at:
หลังจากนั้นกดปุ่ม … เพื่อเลือกโฟลเดอร์ BootDisk ที่เราสร้างไว้ในตอนแรก
พร้อมแล้วก็คลิกที่ Start ได้เลย
แป๊บเดียวก็เสร็จ
เสร็จแล้วก็ลองมาทดสอบกัน โดยการเสียบอุปกรณ์ที่คุณฟอร์แมทแล้ว กับ Eee
ถ้าเป็น SD/MMC ก็เสียบตรงๆ ได้เลย ถ้าเป็น Flash Drive ก็เสียบผ่าน USB
ส่วน Flash Disk ในรูปแบบอื่นๆ ก็เสียบผ่านตัว reader ที่เป็นแบบ USB นะครับ
หลังจากนั้นเปิดเครื่อง Eee พอหน้าจอ Bios ขึ้นมา ให้กดปุ่ม Esc
เพื่อเลือกอุปกรณ์ในการบูต ถ้าคุณพบอุปกรณ์ของคุณอยู่ในรายการ
ก็ให้เลือกแล้วกด Enter แต่ถ้าไม่พบ แสดงว่า Eee ไม่สนับสนุนอุปกรณ์ของคุณ
(ซึ่งผมยังไม่เคยพบอุปกรณ์ที่มันไม่สนับสนุน ใครพบก็อย่าลืมโพสบอกกันนะครับ)
เมื่อกด Enter แล้ว คุณจะพบว่ามันบูตมาเป็น Windows 98 DOS Prompt ที่ C:\>
แสดงว่าอุปกรณ์ของคุณ พร้อมใช้สำหรับการติดตั้ง Windows XP แล้วล่ะครับ
เป็นอันจบการทดสอบขั้นแรกครับ

— ยัดโปรแกรมใส่ Flash —

เอา Flash ที่ฟอร์แมทแล้ว กลับมาที่คอมพิวเตอร์สำหรับเตรียมการอีกครั้ง
จัดการก็อปปี้ไฟล์ที่อยู่ใน BootDisk ลง Flash ครับ
ประกอบด้วย xfdisk.exe, xfdisk.ini, format.com, himem.sys และ smartdrv.exe
หลังจากนั้นคุณก็ใส่แผ่นติดตั้ง Windows XP ลงไปในไดร์ฟ DVD
ก็อปปี้โฟลเดอร์ i386 ใส่ลงไปใน Flash ตรงนี้มีอยู่หลายพันไฟล์ รอสักครู่ครับ
เสร็จแล้วก็เอาแผ่นไดรเวอร์ของ Eee ใส่ลงไปแทน แล้วก็อปปี้ไดรเวอร์ใส่ลงไปด้วย
ไดรเวอร์จะอยู่ในโฟลเดอร์ \Drivers ใส่ลงไปทั้งโฟลเดอร์ก็ได้ครับ ง่ายดี
ขนาดไดรเวอร์ทั้งหมด 205 MB ครับ

สรุปว่าตอนนี้ใน Flash ของเราจะมี
1. ไฟล์สำหรับบูต (io.sys, msdos.sys, command.com)
2. xfdisk.exe
3. xfdisk.ini
4. format.com
5. himem.sys
6. smartdrv.exe
7. โฟลเดอร์ i386
8. โฟลเดอร์ Drivers
และตอนนี้จะมีพื้นที่เหลืออีกหน่อย (หากใช้ flash 2 GB จะเหลือเยอะเลยครับ)
ดังนั้นถ้าอยากติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่ม ก็ยัดใส่ Flash ตอนนี้เลยก็ได้ครับ
ถ้าพื้นที่ไม่พอ ไว้หลังจากติดตั้งก็ค่อยฟอร์แมท Flash แล้วก๊อปปี้ไปติดตั้งทีหลังก็ได้
หรือถ้ามี Hub, Wireless LAN เราก็ติดตั้งผ่านตรงนั้นก็ได้เช่นกัน

— แบ่งพาร์ติชั่น —

สำหรับงานนี้ผมใช้ XFdisk ในการปฏิบัติงาน เนื่องจากสะดวกกว่า Fdisk อยู่พอสมควร
แต่เนื่องจากไม่มีรูปประกอบ โปรดระวังการใช้งานให้ดีนะครับ

ให้บูตเครื่องด้วย Flash มาที่ C:\> แล้วพิมพ์ XFDisk แล้วกด Enter
มันจะพาคุณเข้าสู่หน้าต่างของโปรแกรม กด Enter หนึ่งครั้งผ่านคำเตือนไปได้เลยครับ

มุมบนซ้ายของโปรแกรมจะแสดงฮาร์ดดิสก์ที่เรากำลังทำงานอยู่
ในขั้นตอนนี้คุณจะพบว่า Harddisk 1 ก็คือตัวที่เราใช้บูต
ให้กดปุ่ม TAB เพื่อเปลี่ยนไปทำงานกับฮาร์ดดิสก์ตัวที่อยู่ในเครื่อง
ซึ่งโดยปกติจะอยู่ที่ตำแหน่ง Harddisk 2 ครับ ลองรวมขนาดดู ก็จะได้ประมาณ 3812 MB
(ตามสเปค 4 G ก็หายไปนิดหน่อย อย่างที่รู้ๆ กันนะครับ ว่าเป็นที่การคำนวณของคอมพิวเตอร์)
จะมีอยู่หลายพาร์ติชั่น ให้คุณกด Enter แล้วเลือกคำสั่ง Delete Partition ทิ้งให้หมดครับ

เมื่อลบหมดแล้ว จะเหลือพื้นที่ว่างๆ (FREE) รวมเป็นก้อนเดียว 3812 MB
ให้กด Enter เลือก New Partition -> Primary Partition
มันจะให้กำหนดขนาด ตอนนี้คุณสามารถเลือกได้ว่าจะสร้างพาร์ติชั่นเดียวไปเลย
หรือจะแยกส่วน ในขั้นต้นแนะนำให้รวมเป็นอันเดียวครับ เพื่อความสะดวก
ก็กด Enter ผ่านได้เลย เพราะมันจะกำหนดขนาด 3812 MB มาให้อยู่แล้ว

หลังจากนั้นมันจะถามว่าจะให้เตรียมสำหรับการฟอร์แมทด้วย DOS/Windows หรือไม่
ก็ตอบ YES ไปครับ
แล้วมันก็จะถามอีกว่าจะ initialize ทั้งฮาร์ดดิสก์หรือไม่
ถ้าตอบ YES มันจะลบข้อมูลทั้งหมดทุก sector ตอบ NO ก็ได้ครับ จะเร็วกว่า

เสร็จแล้วจะกลับมาหน้าจอเดิม ตัวหนังสือเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วครับ พร้อมใช้งาน
กด F3 เพื่อออกจากโปรแกรม

มันจะถามว่าจะให้เขียน Partition สำหรับ Harddisk 2 เลยหรือไม่ ตอบ YES ครับ
รอสักครู่ (ถ้าเลือกให้ลบข้อมูลทั้งหมดก็จะประมาณ 2 – 3 นาที)

เสร็จแล้วมันจะแนะนำให้ reboot ก็ทำตามนั้น แล้วบูตกลับมาที่ C:\> เหมือนเดิมนะครับ
(กด Esc ที่หน้าจอ bios เพื่อเลือกอุปกรณ์สำหรับบูต)

พิมพ์ Format d: /s แล้วกด Enter เพื่อทำการ format ฮาร์ดดิสก์ของเราพร้อมใส่ระบบบูตลงไป
มันจะขอคำยืนยัน ให้พิมพ์ y แล้วกด Enter
เสร็จแล้วรอการฟอร์แมทสักครู่
ต่อมามันจะให้เราตั้งชื่อฮาร์ดดิสก์ ใส่ตามอัธยาศัย หรือไม่ใส่ก็ Enter ผ่านได้เลย

ต่อมาเราต้องก็อปปี้ไฟล์ที่จำเป็นสำหรับเร่งความเร็วในการติดตั้งลงไปก่อน
(ถ้าไม่ทำก็ได้นะครับ แต่การติดตั้งจะช้ามากๆ)

พิมพ์ copy himem.sys d: แล้วกด Enter
(เพื่อคัดลอก himem.sys ไปไว้ที่ฮาร์ดดิสก์)

พิมพ์ echo device=himem.sys>d:\config.sys แล้วกด Enter
(เพื่อสร้างไฟล์ config.sys ที่จะเรียก himem.sys มาใช้งานตอนบูตเครื่อง)

ตอนนี้ เราก็พร้อมจะติดตั้ง Windows XP แล้วครับ

— ติดตั้ง Windows XP —

ให้บูตเครื่องอีกครั้งหนึ่งด้วยฮาร์ดดิสก์ (ไม่ต้องกด Esc เลือกอุปกรณ์แล้วนะครับ)<br >รอจนขึ้น C:\>

ตอนนี้ฮาร์ดดิสก์จะเป็น c: และ Flash จะเป็น d: นะครับ
พิมพ์ d: แล้วกด Enter เพื่อเปลี่ยนไปอยู่ไดร์ฟ d:
พิมพ์ smartdrv แล้วกด Enter เพื่อเปิดโปรแกรม SmartDrive
ช่วยเร่งความเร็วในการอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์

พิมพ์ format c: /u /q เพื่อลบระบบในไดร์ฟ c: ทิ้งไป
(อาจจะงงนิดนะครับ จุดประสงค์คือต้องการให้มันบูตจากฮาร์ดดิสก์
แต่ไม่ต้องการให้มีระบบปฏิบัติการอื่นอยู่ขณะติดตั้ง)
มันจะขอคำยืนยัน กด y แล้วกด Enter

พิมพ์ CD i386 แล้วกด Enter
แล้วพิมพ์ winnt แล้วกด Enter
เพื่อเริ่มเข้าสู่กระบวนการติดตั้งครับ

เริ่มแรกมันจะถามหาโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ต้นฉบับ
ซึ่งมันจะแสดงชื่อ D:\i386 อยู่แล้ว ให้กด Enter ผ่านไป
ต่อมาถ้ามันบอกว่าไม่พบ SmartDrive แปลว่าเราไม่ได้โหลด Smartdrv
ซึ่งจะทำให้เราใช้เวลาในการคัดลอกนานมาก เราควรกด F3 เพื่อออกจากการติดตั้ง
แล้วเรียกใช้ Smartdrv ก่อนครับ
แต่ถ้ามั่นใจว่ารอไหวให้กด Enter เพื่อติดตั้งต่อได้เลย

แล้วโปรแกรมติดตั้งมันจะทำการก็อปปี้ไฟล์ต่างๆ ลงฮาร์ดดิสก์ของเรา
ให้รอสักพัก (ใหญ่ ๆ ) ครับ โดยทั่วไปประมาณ 5 – 10 นาทีก็เสร็จ
แล้วแต่ความเร็วของ Flash ของเรา

ต่อมามันจะขอรีสตาร์ทเครื่องอีกครั้ง ให้เรากด Enter
สักพักมันจะพามาหน้าจอการติดตั้ง ก็เริ่มดำเนินการติดตั้งไปตามปกติได้เลย

ขออนุญาตจบบทความแบบดื้อๆ ตรงนี้เลยครับ เพราะที่เหลือก็ไม่ยากแล้ว
ติดตั้งเสร็จ ก็ลงไดรเวอร์ไปตามขั้นตอน
Asus แนะนำให้ลง ACPI ก่อนเป็นอันดับแรกครับ แล้วค่อยลงไดรเวอร์ที่เหลือตามลงไป
หลังจากนั้นก็ลงโปรแกรมตามต้องการ และอาจจบด้วยการปรับแต่ง เพื่อให้เหลือพื้นที่มากขึ้นต่อไปครับ

 

 

การใช้ DEBUG เขียนโปรแกรม

คำสั่ง D (Dump) คำสั่ง F (fill) คำสั่ง A (Assemble) คำสั่ง G (G) คำสั่ง U (Unassemble) คำสั่ง R (Registers) คำสั่ง N (Name) และคำสั่ง W (Write) คำสั่ง Q (Quit) DEBUG เป็นโปรแกรม ซึ่งใช้ในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมแอสแซมบลี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ DEBUG เขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี สั้น ๆ เพราะว่ามี Overhead น้อย ในส่วนนี้จะแสดงคำสั่งของ DEBUG และผลที่แสดงบนจอภาพ และใช้ DEBUG เขียนโปรแกรมสั้น ๆ เริ่มด้วยเมื่อผู้ใช้โหลด DOS เรียบร้อยแล้ว จะเห็น Prompt A> บนจอภาพ ในการใช้ DEBUG ให้พิมพ์ debug ตามด้วย ก็จะได้ prompt ของ debug คือ A>debug พิมพ์บรรทัดนี้ – debug’s prompt charactor

คำสั่ง D (Dump)
– d100 พิมพ์บรรทัดนี้
5BA5 : 0110 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0110 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0120 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0130 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0140 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0150 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
ดังที่ปรากฏในจอภาพ คือค่าที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ ค่าที่แสดงเป็นเลขฐานสิบหก โดยที่เลขฐานสิบหก 2 ตัวคือ 1 ไบต์ ค่าของเลขฐานสิบหก 2 ตัว มีค่าอยู่ระหว่าง 00h ถึง FFh หรือค่า 0 ถึง 255 ของเลขฐานสิบนั่นเอง บนจอภาพจะบอก address คือตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยความจำและ Content คือค่าที่อยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ ตำแหน่งที่อยู่ในหน่วยความจำ คือค่าในคอลัมน์แรก เช่น 5BA5:0100 จะเห็นว่าตำแหน่งที่อยู่ประกอบด้วยสองส่วน คั่นด้วยเครื่องหมาย : ค่าทางซ้ายมือคือ 5BA5 ซึ่งในเครื่องที่คุณใช้อาจได้เป็นค่าอื่น หมายถึงค่าของเซ็กเมนต์ และค่าทางขวามือ คือ ออฟเซตค่าที่อยู่ในหน่วยความจำ อยู่ในส่วนถัดมา โดยที่แต่ละบรรทัดจะมี 16 ค่า หรือ 16 ไบต์ เรียงลำดับดังนี้
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
5BA5 : 0100 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0110 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
5BA5 : 0120 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
ซึ่งก็คือค่าที่เรียงอยู่ในหน่วยความจำดังรูป
: 0100 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 ……………………
ส่วนของหน่วยความจำ
:0100 00
: 0101 00
: 0102 00
: 0103 00
: 0104 00
: 0105 00
: 0106 00
:010E 00
:010F 00
การหาค่า absolute address ทำโดยการ Shift ค่าของ เซกเมนต์ 4 บิตทางซ้ายแล้วบวกด้วยค่าของออฟเซต
เซกเมนต์ เ 05BA50
ออฟเซต เ __0100
Ablolute address 05BA50

 

 


 

 asdfggg

 

คำสั่ง G (G)
ถ้าต้องการทราบว่าโปรแกรมที่เพิ่มสั่งพิมพ์เข้าไป ให้ผลอย่างไร พิมพ์คำสั่ง g
– g
a
Program terminated normally
– จะเห็นว่าโปรแกรมนั้นพิมพ์ตัวอักษร a บนจอภาพ ทีนี้ลองพิมพ์ d 100
5BA5 : 0100
5BA5 : 0100 B2 61 B4 02 CD 20-61 61 61 61 61 61 61 61 .a…!.aaaaaaaaaaaaaaaaa
5BA5 : 0110 61 61 61 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 aaa………………..
5BA5 : 0120 FF FF FF FF FF FF FF FF-FF FF FF FF FF FF FF FF ………………
5BA5 : 0130 FF FF FF FF FF FF FF FF-FF FF FF FF FF FF FF FF ………………
5BA5 : 0140 FF FF FF FF FF FF FF FF-FF FF FF FF FF FF FF FF ………………
5BA5 : 0160 24 24 24 24 24 24 24 24-00 00 00 00 00 00 00 00 $$$$$$$$………..
5BA5 : 0170 00 00 00 00 00 00 00 00-00 00 00 00 00 00 00 00 …………………..
จะเห็นว่าตำแหน่ง 0100 ถึงตำแหน่ง 0107 คือ ส่วนของโปรแกรมที่เพิ่งพิมพ์เข้าไป โดยที่ ตัวอักษรทางขวามือคือ .a….!. นั้นไม่มีความหมายอะไร โปรแกรม 4 บรรทัด ที่พิมพ์เข้าไปโดยใช้คำสั่ง “A” จะถูก assemble คือ ถูกแปรจากโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี เป็นภาษาเครื่อง

คำสั่ง U (Unassemble)
เป็นคำสั่งที่ทำงานตรงกันข้ามกับคำสั่ง “A” คือ จะแปลโปรแกรมภาษาเครื่อง ให้เป็นโปรแกรม
ภาษาแอสแซมบลี
U 100,106
5BA5 : 0100 B261 mov dl,61
5BA5 : 0102 B402 mov ah,2
5BA5 : 0104 CD21 int 21
5BA5 : 0106 CD20 int 20
Machine Assembly
Language Language
Disassembly

คำสั่ง R (Registers)

เป็นคำสั่งที่แสดงค่าที่อยู่ในรีจิสเตอร์ ของ 8088
– r AX=0000 BX=0000 CX=0000 DX=0000 SP=FFEE BP=0000 SI=0000 DI=0000
DS=5BA5 ES=5BS5 SS=5BA5 CS=5BA5 IP=0100 NV UP EI PL NZ NA PO NC
5BA5:0100 MOV DL,61
จะเห็นว่า รีจิสเตอร์ AX มีค่า 0000 รีจิสเตอร์ BX มีค่า 0000 รีจิสเตอร์ IP มีค่า 0100 ถ้าต้องการเปลี่ยนค่าในรีจิสเตอร์ก็ทำได้โดยใช้คำสั่ง r ตามด้วยชือ่รีจิสเตอร์
เช่น ถ้าต้องการเปลี่ยนค่าในรีจิสเตอร์ CX เป็น 100 ทำได้โดย
– rcx
CX 0000
0100
– r
AX=0000 BX=0000 CX=0000 DX=0000 SP=FFEE BP=0000 SI=0000 DI=0000
DS=5BA5 ES=5BS5 SS=5BA5 CS=5BA5 IP=0100 NV UP EI PL NZ NA PO NC
5BA5:0100 MOV DL,61
จะเห็นว่ารีจิสเตอร์ CX ม่ค่า 0100
Flag Name Set (=1) Clear (=0)
Overflow (yes/no) OV NV
Direction (decrement/increment) DN UP
Interrupt (enable/disable) EI DI
Sign (negative/positive) NG PL
Zero (yes/no) ZR NZ
Auxilliary carry (yes/no) AC NA
Parity (even/odd) PE PO
Carry (yes/no) CY NC
โปรแกรมพิมพ์ ASCII character
– a 100
5BA5 : 0100 mov cx,100
5BA5 : 0103 mov dl,00
5BA5 : 0105 mov ah,2
5BA5 : 0107 int 21
5BA5 : 0109 inc dl
5BA5 : 010B loop 0105
5BA5 : 010D int 20
5BA5 : 010F
– u 100,10d
5BA5 : 0100 B90001 mov cx,100
5BA5 : 0103 B200 mov dl,00
5BA5 : 0105 B402 mov ah,2
5BA5 : 0107 CD21 int 21
5BA5 : 0109 FEC2 inc dl
5BA5 : 010B E2F8 loop 0105
5BA5 : 010D CD20 int 20
จะพิมพ์ ASCII character set บนจอภาพ

คำสั่ง N (Name) และคำสั่ง W (Write)
เป็นคำสั่งที่เก็บโปรแกรมบนแผ่นดิสก์เก็ต โดยผู้ใช้ต้องบอกชื่อของโปรแกรม โปรแกรมมีกี่ไบต์ และบอกคอมพิวเตอร์ ให้เขียนโปรแกรมลงบนดิสก์
– n adcii.com โปรแกรมชื่อ ascii.com
– r bx
BX 0000 BX มีค่า 0 เสมอ
: – r cx
CX 0000
: f โปรแกรมยาว 16 ไบต์
– w เขียนโปรแกรมลงบนดิสก์เก็ต
Writing 000F bytes

คำสั่ง Q (Quit)
เป็นคำสั่งที่ออกจาก DEBUG สู่ DOS
– q
> ผู้ใช้สามารถ execute โปรแกรมที่ได้เก็บไว้บนแผ่นดิสก์เก็ต โดยพิมพ์ชื่อของโปรแกรม
> ascii
จะเห็น ASCII character บนจอภาพ ตามด้วย A>